หมู่เกาะต่างๆที่น่าสนใจในเขตกิ่งอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด
เกาะช้างน้อยและแหลมช้างน้อย อยู่ทางด้านเหนือของเกาะช้างท้องน้ำระหว่างแหลมช้างน้อย กับเกาะช้างน้อยจะมีแนวปะการังอยู่ด้วย
เกาะมันนอก-มันใน เป็นเกาะเล็ก อยู่ตรงข้ามหาดไก่แบ้เมื่อน้ำลดจะมีหาดอยู่รอบๆเกาะ ท้องน้ำบริเวณเกาะมันนอก-เกาะมันใน ค่อนข้างตื้นและมีสาหร่ายสีทองขึ้นเป็นจำนวนมาก เกาะคลุ้ม เป็นเกาะประวัติศาสตร์จากยุทธนาวีที่เกาะช้าง เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับ การตกปลา และชมทัศนียภาพของลานหิน คือ หินลูกบาตและหินลาดหลังคุ้ม
เกาะเหลายา เป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับเกาะช้าง ประกอบด้วยเกาะเหลายาใน เกาะเหลายากลาง และเกาะเหลายานอก ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ 2.30 ชั่วโมง มีสถานที่พัก คือ เกาะเหลายาพาราไดซ์ ไอซ์ แลนด์ รีสอร์ท มีบังกะโล 24 หลัง มีเรือของรีสอร์ทบริการ รายละเอียดติดต่อ โทร. (039) 512-818 , 512-828 , 531-838-40 เกาะหวาย เป็นเกาะใหญ่อีกเกาะหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้กับเกาะเหลายา ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ 2.30 ชั่วโมง หาดส่วนใหญ่เป็นหินประกอบด้วยอ่าวใหญ่ๆ ที่มีแนวชาย หาดสวยงาม มีแนวปะการังขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าเกาะ มีสะพานท่าเทียบเรือให้นักท่องเที่ยว ขึ้นลง มีบ้านพักและบังกะโลให้เช่าหลายแห่งเกาะพร้าวหรือเกาะทรายขาว อยู่ทางทิศใต้หน้าอ่าวสลักเพชร ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมงอบประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นเกาะที่มีหาดทรายสะอาดและร่มรื่นด้วยต้นมะพร้าว มีบังกะโลเปิดบริการ เกาะง่าม ตั้งอยู่ติดกับเกาะช้างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาแฝด 2 เกาะ วางแนวขนาดกันโดยมีโขดทรายขนาดใหญ่เชื่อมตรงกลาง ชายหาดส่วนใหญ่เป็นหิน มีหาดทราย เล็กๆ 2-3 หาด มีทะเลสาบขนาดใหญ่ 1 แห่ง และเล็ก 1 แห่ง เกิดจากแนวเขาที่โอบน้ำทะเลไว้ จึงเป็นบริเวณที่คลื่นลมสงบ การเดินทางจากแหลมงอบใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง.


แหลมงอบ แหลมงอบ อยู่ห่างจากจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3148 ประมาณ 17 กิโลเมตร มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 500 เมตร สามารถเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่างๆ ได้เช่น เกาะช้างเกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถหาซื้อของที่ระลึกจำพวก กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง และงอบแบบต่างๆ ได้จากร้านค้าทั่วไปในเขตอำเภอแหลมงอบ
บ้านน้ำเชี่ยว อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามทางสายตราด-แหลมงอบ ประมาณ 8 กิโลเมตร มีชื่อเสียงในการทำงอบซึ่งเรียกว่า "งอบน้ำเชี่ยว" อันเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดตราด ที่สืบทอดมาแต่โบราณนอกจากงอบแล้ว บ้านน้ำเชี่ยวยังมีผลิตผลจากการประมง เช่น กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง ฯลฯ ไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย
อ่าวตาลคู่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกเข้าเกาะปุยประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ชายหาดอ่าวตาลคู่เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน เพราะมีความสวยงามและอากาศดี ชาวจังหวัดตราดนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด มีร้านจำหน่ายอาหาร
เกาะปุย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งแวดล้อมด้วยธรรมชาติงดงาม บรรยากาศร่มรื่นเป็นอิสระอยู่ใกล้ฝั่ง การเดินทางสะดวกปลอดภัยทุกฤดูกาลที่เกาะปุยประกอบด้วยเนินเขามีสวนมะพร้าว สมุนไพรนานาชนิดและบ่อดินสอพองที่ได้รับการกล่าวถึงเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสตราด หาดที่เกาะปุยมีลักษณะเลนปนทราย จึงไม่เหมาะสำหรับว่ายน้ำแต่เหมาะสำหรับผู้ที่รักสงบและต้องการพักผ่อนเงียบๆ
การเดินทางไปเกาะปุย ควรไปเช่าเรือจาก แหลมงอบ หากมีรถเองควรไปขึ้นเรือที่แหลมอวน โดยใช้เส้นทางตราด-แหลมงอบ 15 กิโลเมตร จะมีปั๊มน้ำมัน ปตท. อยู่ทางขวามือแล้วมีทางแยกเข้าทางลูกรังประมาณ 5 กิโลเมตร มีป้ายบอกชื่อ แหลมอวนอยู่ทางซ้ายเข้าไป 500 เมตรสามารถหาเรือข้ามฟากไปยังเกาะปุยและมีบริการรับฝากรถ จากแหลมอวน-เกาะปุย ใช้เวลาเดินทางเพียง 10-15 นาทีเท่านั้นอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง จัดสร้างขึ้นบริเวณชายทะเลแหลมงอบ มีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง องค์ประกอบของบริเวณมีการจัดบริเวณ และอาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบอนุสาวรีย์เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดตราด และเมืองใกล้เคียง จะมีงานฉลองระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม ของทุกปี จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทย.



อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง (กิ่งอำเภอเกาะช้าง) เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งที่สี่ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 47 เกาะเรียงรายตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่นๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ชี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะรัง ฯลฯ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2525
เกาะช้าง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแหลมงอบ เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศรองจากเกาะภูเก็ตมีเนื้อที่ประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อนยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาสลักเพชร (สูง 744 เมตร) รองลงไป ได้แก่ เขาจอมประสาท และเขาหอม มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา อันเป็นบ่อเกิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาดที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ บนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ถึง 8 หมู่บ้าน ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะช้างใกล้คลองธารมะยมที่ด้านหน้ามีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพิทักษ์อุทยานอีก 3 จุด คือ บริเวณอ่าวคลองสน บริเวณทางเข้าน้ำตกคลองพลู และบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร
การเดินทางไปเกาะช้าง จากแหลมงอบ ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่จุดใกล้ไกลบนเกาะที่จะไปขึ้นฝั่ง สำหรับฝั่งตะวันออกของเกาะสามารถเดินทางโดยทางเรือได้เกือบตลอดปี ส่วนด้านฝั่งตะวันตกของเกาะ ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีลมมรสุมซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือจากตัวเมืองบริเวณหอนาฬิกาจังหวัดตราดมีรถสองแถวไปแหลมงอบ ระยะทาง 17 กิโลเมตร จากแหลมงอบเช่าเรือไปที่ทำการอุทยานฯ ระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลา 45 นาที มีเรือโดยสารวิ่งระหว่างแหลมงอบกับจุดต่างๆ บนเกาะช้างทุกวัน วันละ 1-2 เที่ยว การเดินทางไปเกาะช้างจากท่าเทียบเรือเกาะช้างเซ็นเตอร์พอยต์ ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือเปิดใหม่ของภาคเอกชนตั้งอยู่ ถนนแหลมงอบ-แสนตุ้ง สามารถนั่งรถสองแถวสายตราด-แหลมงอบไปยังท่านี้ได้ มีเรือโดยสารและเรือเช่าเหมาลำไว้บริการนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปเกาะช้างและหมู่เกาะต่างๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (039) 538-056-8.


น้ำตกธารมะยม อยู่หลังที่ทำการอุทยานฯ เดินผ่านสวนผลไม้เข้าไปประมาณ 500 เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางมี 3 ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, 6, 7 และ 9 เคยเสด็จประพาสมายังน้ำตกนี้
-น้ำตกคลองพลู อยู่ห่างจากอ่าวคลองพร้าว 3 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินป่าอีกประมาณ 20 นาที เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 3 ชั้น
-น้ำตกคลองนนทรี อยู่ห่างจากบ้านด่านใหม่ตามทางเดินเท้า 3 กิโลเมตร หรือจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
-บ้านสลักเพชร-บ้านโรงถ่าน เป็นสองชุมชนใหญ่ที่สุดบนเกาะช้าง ตั้งอยู่ติดกันทางตอนใต้ของเกาะ รอบอ่าวสลักเพชรซึ่งเป็นอ่าวใหญ่ที่สุดบนเกาะมีท่าเทียบเรือหลายแห่ง มีบังกะโล และร้านขายอาหารเล็กๆ สลับกันไป
-น้ำตกคีรีเพชร เป็นน้ำตกชั้นเดียว อยู่ห่างจากชุมชนบ้านสลักเพชรผ่านสวนยางเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร
- น้ำตกคลองหนึ่ง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ลึกเข้าไปจากชุมชนสลักเพชรใกล้น้ำตกคีรีเพชร
-หมู่บ้านประมงบางเบ้า เป็นหมู่บ้านประมงที่น่าสนใจ บ้านพักอาศัยปลูกโดยปักเสาลงในทะเล มีสะพานเชื่อมติดต่อกันโดยตลอด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมงดักปลาหมึก มีบังกะโลที่พักและแหล่งปะการังใต้น้ำ
-อ่าวคลองสน เป็นอ่าวอยู่ทางเหนือสุดของเกาะฝั่งตะวันตก มีบังกะโลอยู่ประปรายใกล้ๆ อ่าวคลองสน มีแนวปะการังใต้น้ำ เป็นหากที่มีระยะทงยาวมากอีกห่งหนึ่ง มีบังกะโลตั้งอยู่หบายแห่าง มีถนนรอบเกาะตัดชิดหากมากทีสุด
-หาดคลองพร้าว-แหลมไชยเชษฐ์ อยู่ทางทิศใต้หน้าอ่าวสลักเพชร ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมงอบประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นเกาะที่มีหาดทรายสะอาดและร่มรื่นด้วยต้นมะพร้าว มีบังกะโลเปิดบริการ.



วัดเมืองเก่าแสนตุ่มและโบราณสถานเขาโต๊ะโมะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านอีเร็ม ตำบลประณีต อำเภอเขาสมิง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเขาสมิงประมาณ 38 กิโลเมตร การเดินทางไปโบราณสถานแห่งนี้ เริ่มจากทางแยกแสนตุ้งไปตามถนนจินตกานนท์ (แสนตุ้ง-บ่อไร่) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 18.5 จะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายไปบ้านตาพลาย อีกประมาณ 2.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายบ้านนามะขาม บ้านอีเร็ม (ถนน รพช. หมายเลข 11001) ระยะทาง 9 กิโลเมตร จะถึงวัดเมืองเก่าแสนตุ่ม วัดนี้เป็นวัดที่มีความร่มรื่น ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อนและการปฏิบัติธรรม
นอกจากนี้ทางวัดยังได้ให้ความร่วมมือกับกรมป่าไม้ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ส่วนบริเวณวัดด้านทิศใต้เป็นที่ตั้งโบราณสถานเขาโต๊ะโมะ ที่คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล มีความเชื่อว่าใต้พื้นบริเวณโบราณสถานมีสมบัติเป็นแสนตุ่ม อันเป็นที่มาของชื่อวัดแสนตุ่ม
โบราณสถานเขาโต๊ะโมะ มีลักษณะเป็นเนินดิน มีต้นไม้ปกคลุม มีแท่งหินวางอยู่เรียงราย หินเหล่านี้มีสีน้ำตาลเข้ม เป็นรูปสี่เหลี่ยมตั้งแต่สี่เหลี่ยมถึงเก้าเหลี่ยม ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ถึง 150 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตรถึง 20 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 10 กิโลกรัมถึง 100 กิโลกรัม การวางเรียงซ้อนของหินคล้ายเทวสถาน หินบางก้อนเมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวานเหมือนเคาะระฆัง
สถานที่น่าสนใจในเขตอำเภอบ่อไร่ จ.ตราดน้ำตกเขาสลัดได ตามถนนสายจินตกานนท์ (แสนตุ้ง-บ่อไร่) ประมาณ กิโลเมตร ที่ 25 มีทางแยกซ้ายไปน้ำตกเขาสลัดได ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร บริเวณรอบ ๆ น้ำตก มีป่าเขาและธรรมชาติสวยงามเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
ตลาดพลอย อำเภอบ่อไร่ เป็นแหล่งผลิตพลอยแดงและโกเมนของภาคตะวันออกก่อนส่งไปเจียระไนที่จังหวัดจันทบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 65 กิโลเมตร ตลาดพลอยที่น่าสนใจ ได้แก่ ตลาดพลอยหัวทุ่ง ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ่อไร่ 1 กิโลเมตร ตลาดพลอยที่บ้านหนองบอน ตลาดพลอยบ้านสระใหญ่ และบริเวณคลองยอ มีการซื้อขายพลอยระหว่าง 07.00-10.00 น. และ 13.00-15.00 น. ทุกวัน.
หาดทรายงาม
หาดทรายงาม แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 318 ตรงกิโลเมตร ที่ 37-38 เข้าไป 300 เมตร
หาดทรายแก้ว แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 318 ตรงกิโลเมตร ที่ 41-42 เข้าไป 200 เมตร
หาดไม้รูด (หาดสำราญ) แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 318 ตรงกิโลเมตร ที่ 57-58 เข้าไป 5 กม. ทางลงหาดอยู่หน้าศาลาประชาคม มีบังกะโลให้เช่า
หาดบานชื่น ตั้งอยู่ก่อนถึงอำเภอคลองใหญ่ ระหว่างกิโลเมตร ที่ 59-60 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร เดิมชื่อ หาดมะโร ต่อมาเจ้าของได้บริจาคที่ดินบริเวณหน้าหาดจำนวน 14 ไร่ ให้กับทางจังหวัด เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี พ.ศ.2527 ขณะที่นายทองดำ บานชื่น เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตราด หาดบานชื่นเป็นหาดที่มีทรายละเอียด ขาว คลื่นลมสงบ เล่นน้ำทะเลได้ มีบังกะโลให้เช่าบริเวณชายหาด
บ้านหาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เป็นหมู่บ้านสุดชายแดนประเทศอยู่ปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ห่างจากอำเภอคลองใหญ่ 16 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 89 กิโลเมตรจากจุดนี้ จะมองเห็นทัศนียภาพของประเทศกัมพูชา นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเช่าเรือไปยังเกาะกงของกัมพูชา ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่บ้านโขดทราย หมู่ที่ 2 ตำบลหาดเล็ก บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 81-82 มีความกว้างเพียง 450 เมตร มีโครงการสร้างเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน.

แหลมศอก จากถนนสายตราด แหลมงอบ ไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนเลี้ยวซ้ายไปบริเวณแหลมศอก ระยะทาง 24 กิโลเมตร แหลมศอกมีหาดทรายที่น่าสนใจ และมีหมู่บ้านชาวประมงที่น่าไปเยือน คือ หมู่บ้านแหลมหินและหมู่บ้านอ่าวช่อ นอกจากนี้แหลมศอกยังเป็นที่ตั้งของศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งชาวตราดเคารพสักการะโดยทั่วไป
หาดลานทราย แยกขวาตามเส้นางไปคลองใหญ่ หลักกิโลเมตรที่ 31-32 ถนนตราด-คลองใหญ่ ตำบลแหลมกลัด เข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณหาดมีที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยว บรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อน
วัดสะพานหิน ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 31-32 ถนนตราด-คลองใหญ่ (ทางหลวงหมายเลข 318) ตามเส้นทางไปคลองใหญ่ มีทางแยกทางซ้ายมือจากถนนเข้าสู่วัด วัดนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี กลางสระน้ำมีโบสถ์เก่าแก่ และอยู่ห่างวัดประมาณ 1 กิโลเมตร มีสันหินเชื่อมสองฝั่งคลองใช้เป็นทางคมนาคม
ศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้าน ตั้งอยู่ถนนตราด-คลองใหญ่กิโลเมตรที่ 48 อำเภอเมือง ในอดีตสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้าน ช่วยเหลือชาวเขมรอพยพ จนเมื่อชาวเขมรอพยพแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนา ศูนย์นี้จึงปิดไปเมื่อ พ.ศ.2529 ต่อมาในปี พ.ศ.2535ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทยเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา จึงได้จัดสร้างศาลาราชการุณย์ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วยโครงการพัฒนาศูนย์สภากาชาดไทยที่บ้านเขาล้าน ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ภายในศาลาราชการุณย์ประกอบไปด้วย รูปปั้นจำลองขนาดเท่าจริงของชาวเขมรอพยพในรูปแบบต่างๆ และนิทรรศการพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ส่วนด้านหลังจะเป็นหาดทรายบรรยากาศเงียบสงบ และมีที่พักไว้รองรับสำหรับผู้ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้าน โทร.(039) 521-621.